TOPIC:ครอบแก้วรักษา-Cupping Therapy

2020-02-17 View: 1709 | Written by:root

ครอบแก้วรักษา
Cupping Therapy

 

     ครอบกระปุกหรือครอบแก้ว เป็นการรักษาโดยใช้อุปกรณ์เป็นถ้วยหรือแก้วเป็นอุปกรณ์ในการบำบัด โดยมาทำให้เกิดสุญญากาศภายใน จากนั้นนำไปครอบในตำแหน่งที่ต้องการรักษา การครอบแก้วเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีนโดยไม่ต้องใช้ยา เป็นการรักษาภายนอกร่างกายตามศาสตร์แผนจีนที่สืบทอดมานาน อาศัยทฤษฎีการวินิจฉัยแยกแยะสภาวะ หนาว ร้อน พร่อง แกร่ง ทำการรักษาตามตำแหน่งที่เส้นลมปราณ เคลื่อนผ่านหรือตำแหน่งที่เส้นลมปราณบรรจบกัน เส้นลมปราณหรือที่ภาษาแพทย์จีนเรียกว่า “จิงลั่ว” นั้นก็คือหนทางสำคัญที่เลือดลมขับเคลื่อนนั่นเอง เส้นลมปราณในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย 12 จิงม่าย (ยังรวมถึงฉีจิงป้ะม่าย) และ 15 ลั่วม่าย (ลั่วม่ายหลัก)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา 
       มีหลายชนิด เช่น กระปุกแก้ว กระปุกเซรามิค กระบอกไม้ไผ่ กระปุกยางพารา เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย คือ กระปุกแก้ว เนื่องจากกกระปุกเป็นแก้วใสโปร่ง สามารถมองทะลุเห็นความเปลี่ยนแปลงของผิวหนังได้ จึงนิยมใช้กันมากทางคลินิก ขนาดของกระปุกแก้วมีตั้งแต่ขนาดเล็ก กลางและขนาดใหญ่ ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับบริเวณที่จะทำการรักษา นอกจากนี้ กระปุกแก้วยังแยกเป็นกระปุกแก้วไฟ (ใช้ความร้อนจากไฟ) และกระปุกแก้วสุญญากาศ

วิธีการบำบัดด้วยการครอบแก้วโดยทั่วไป
(1) ครอบแก้ว
     •  ตำแหน่งในการวางแก้วจะใช้แก้วใบเดียวหรือหลายใบก็ได้ แต่จำเป็นที่จะต้องวางลงตรงจุดที่รู้สึกเจ็บปวด หรือจุดฝังเข็ม และต้องครอบทิ้งไว้ประมาณ 5–15 นาที เพื่อบำบัดโรคตามหลักการแพทย์แผนจีน เช่น บรรเทาปวด ฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจ สงบประสาทคลายกังวล

(2) ส่ายแก้ว
     •  เป็นการครอบแก้วในระยะเวลาสั้นๆ วางแก้วลงตรงจุดฝังเข็มแล้วนำออกทันที จากนั้นให้วางลงไปใหม่ ทำอย่างนี้ติดต่อกันประมาณ 3 ครั้ง นานประมาณ 3 นาที  ซึ่งวิธีการนี้ใช้เพื่อการบำบัดผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ

(3) เคลื่อนแก้ว    
     •  เป็นการเดินแก้วไป-มา เป็นบริเวณวงกว้างขณะที่ทำการบำบัดอยู่  โดยปกติทำเพื่อการคลายกล้ามเนื้อ การระบายน้ำเหลือง หรือเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือเพื่อปรับปรุงระบบหมุนเวียนโลหิต

(4) ครอบแก้วร่วมกับฝังเข็ม
     •  การครอบแก้วเข็ม คือ การครอบแก้วลงบนเข็มที่ถูกฝังไว้ตรงบริเวณจุดฝังเข็มเรียบร้อยแล้ว เพื่อช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูร่างกายบริเวณนั้นๆ

(5) ครอบแก้วปล่อยเลือด (ครอบแก้วแบบเปียก)
     •  การครอบแก้วแบบเปียก (การเจาะเลือดครอบแก้ว) ครอบแก้วลงตรงบริเวณจุดฝังเข็ม ที่ผ่านการใช้เข็มเจาะให้เลือดออก เพื่อกักเลือดที่ไหลออกมาไว้ภายในแก้ว  ซึ่งวิธีการนี้ช่วยขับล้างสารพิษออกจากร่างกาย

ประสิทธิผลของการรักษาด้วยครอบแก้ว
     1.  ยกระดับภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
     2.  กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด ป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือด ฟื้นฟูชี่
     3.  กระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลืองทั่วร่างกาย กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
     4.  ช่วยเร่งการขับถ่ายของเสียออกจากอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายและกล้ามเนื้อ
     5.  ช่วยปรับสมรรถภาพการทำงานของระบบประสาท
     6.  บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง และปวดเฉียบพลัน

ข้อบ่งใช้ หรือวัตถุประสงค์ของการครอบแก้ว

     การครอบแก้วสามารถช่วยบำบัดได้หลายโรค ดังต่อไปนี้ ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ, ผ่อนคลายความเมื่อยล้าและลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ, บรรเทาโรคข้ออักเสบ, อาการบาดเจ็บอันเกิดจากการเล่นกีฬา, โรคปวดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น, อาการปวดประจำเดือน, ลดไข้, บรรเทาอาการหวัด, โรคหอบหืด, หลอดลมอักเสบและโรคภูมิแพ้, บรรเทาอาการนอนไม่หลับ, ผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์และสงบประสาท

ข้อควรระวัง :
     การบำบัดด้วยการครอบแก้ว ไม่แนะนำให้ผู้ที่มีผิวอ่อนบางหรือระคายเคืองง่าย  มีแผล หรือเพิ่งการผ่านการผ่าตัด ตลอดจนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหมอนรองกระดูก หรือไขสันหลังอักเสบ ผู้ที่มีปัญหาบริเวณเอวและท้องน้อย หรืออยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และมีขนตามร่างกายเยอะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครอบแก้วแบบเคลื่อนแก้ว และการครอบแก้วไฟ (โดยปกติแล้วการบำบัดด้วยการครอบแก้ว อาจส่งผลให้เกิดรอยฟกช้ำ กระจายโดยทั่วไปนานประมาณ 3-10 วัน)

 

Introduction to Cupping therapy
     Cupping therapy is a form of alternative medicine in which cups are placed on the skin to create suction. The cups can be made of a variety of materials, including: Glass, Bamboo, Earthenware

    Supporters of cupping therapy believe the suction of the cups mobilizes blood flow to promote the healing of a broad range of medical ailments.

The Most Common Cupping Applications:
     •  Fixed Cupping: a single or multiples cups are placed on a painful area or acupuncture points and are retained for 5 to 15 minutes. 
     •  Quick Cupping: Placed on an acupuncture point and removed immediately, then repeating this process many times for 3 to 3 minutes. This is used for people who are deficient and weak.
     •  Moving Cupping: Oiling a large area and moving the cup back and forth while the suction is in effect. Often used for fascia release and lymphatic draining. Or for muscular pain or to improve blood circulation.
     •  Needle Cupping: Placing a cup over a needle which has been inserted on an acupuncture point. To enhance the action of a point. 
•    Wet Cupping (Blood letting cupping): placing the cup over an acupuncture point that has been pricked by a lancet needle prior to cupping it, and then drawing blood from the body with the cup. Used mostly to detoxify.

The effectiveness of Cupping therapy
     1. Elevate immunity
     2. Stimulate circulation of cell formation as well as blood circulation.
     3. Stimulate the circulation of the lymphatic system. Stimulate the digestive system.
     4. Helps to accelerate the excretion of waste from various organs within the body and muscles.
     5. Improve the function of the nervous system

     Chinese traditional doctor also believe that cupping therapy can reduce pain and inflammation throughout the body. And it can promote mental and physical relaxation and well-being.

Indications
     Cupping therapy can help many conditions. Here are the most common ones :
Headaches, muscle tension and stiffness, arthritis, sports injuries, fibromyalgia, and dysmenorrhea. Common cold, asthma, bronchitis, and allergies. Insomnia, stress and long standing emotional trauma.

Precautions:
     Cupping is NOT recommended on sensitive skin, ulcer or broken skin, on the lumbar and abdominal region of pregnant women, or on people with excess hair (especially moving cup or fire cup). Cupping therapy may result in bruises (which will generally dissipate within 3 to 10 days).

 

รีวิวจากผู้ใช้จริง