TOPIC:การฝังเข็มรักษารองช้ำ

2022-05-10 View: 615 | Written by:root

     เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกกันว่า “รองช้ำ” เกิดขึ้นเนื่องจากมีการบาดเจ็บหรืออักเสบของเอ็นฝ่าเท้าบริเวณที่เกาะกับกระดูกส้นเท้า

อาการของ “รองช้ำ”
     มีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า ในระยะแรกอาจเกิดอาการภายหลังการออกกำลังกาย เดิน หรือยืนนานๆ แต่ถ้าอาการมากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา ยังมีลักษณะเฉพาะ คือ เมื่อลุกขึ้นเดิน  2–3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักขาเป็นเวลานาน จะรู้สึกเจ็บบริเวณส้นเท้า เนื่องจากเกิดการกระชากของเอ็นฝ่าเท้าที่อักเสบอย่างทันทีทันใดนั่นเอง แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่ง เอ็นฝ่าเท้าจะค่อยๆ ยืดหยุ่นขึ้น อาการเจ็บส้นเท้าจึงทุเลาลง
           

การรักษาทั่วไป

  1. การใช้ยา เพื่อลดอาการปวดและอักเสบ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นอาจใช้ยาฉีดสเตียรอยด์       
  2. การทำกายภาพบำบัด โดยการประคบร้อนหรือเย็น การยืดกล้ามเนื้อน่อง และเอ็นฝ่าเท้า
  3. ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ลดน้ำหนัก
  4. ผ่าตัดเป็นวิธีสุดท้าย เนื่องจากผ่านการรักษามาทุกวิธีแล้วยังไม่ดีขึ้น

     การรักษาโรครองช้ำ ผู้ป่วยต้องใช้ความอดทนในการดูแลรักษาตัวเอง โดยอาจใช้เวลานานถึง 2 – 6 เดือน และต้องอาศัยหลายๆ วิธีประกอบกัน

การฝังเข็มรักษารองช้ำ
     แพทย์แผนจีนมองโรครองช้ำไม่เพียงแค่ที่ส้นเท้าหรือฝ่าเท้า แต่มองรวมถึงระบบประสาทตั้งแต่เอว หัวเข่า  ขา ข้อเท้า จนมาถึงส้นเท้า นอกจากนี้แพทย์จีนไม่มองแค่เฉพาะอาการปวด แต่จะดูแลรวมถึงอาการชาด้วย การฝังเข็มรักษารองช้ำ จึงไม่เพียงฝังที่ส้นเท้าเท่านั้น แต่อาจต้องฝังตามจุดฝังเข็มตั้งแต่ต้นขา หัวเข่า น่อง เรื่อยลงมาจนถึงส้นเท้า
โดยฝังเข็มช่วยลดการอักเสบ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณเท้า นอกจากนี้ การฝังเข็มมีผลฟื้นฟู ปรับสมดุลสัญญาณประสาทต่อสมองเพื่อหยุดการอักเสบและบวม การฝังเข็มที่มีมาตรฐานจะมีประสิทธิภาพสูงสำหรับรักษาโรครองช้ำ ช่วยเรียกคืนความยืดหยุ่น และป้องกันความเสื่อมสภาพของโครงสร้างเท้า

รีวิวจากผู้ใช้จริง