TOPIC:บทบาทและหน้าที่ของไต

2022-05-10 View: 340 | Written by:root

ไต 肾

บทบาทและหน้าที่ของไต
     ไตเป็นอวัยวะสำคัญส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งประกอบด้วย ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายเช่นเดียวกับอวัยวะสำคัญอื่นๆ ซึ่งอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ ต่างก็ทำหน้าที่เฉพาะส่วน แต่มีการประสานงานกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ร่างกายเป็นปกติสุขอยู่ได้ หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเสีย หรือถูกทำลาย ก็จะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่นได้

     หน้าที่ของไตมีหลายอย่าง ได้แก่ การปรับสมดุลน้ำในร่างกาย การปรับสมดุลของสารเกลือแร่และกรด-ด่างในร่างกาย การกำจัดของเสียออกจากร่างกาย การผลิตฮอร์โมนหลายชนิดในร่างกาย

ไตพร่อง

     ตามทฤษฎีแพทย์จีนนั้น ไตจัดเป็นหนึ่งในอวัยวะตันทั้งห้า ไตมีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์อย่างหนึ่ง มีหน้าที่ในการกักเก็บสารจิง ซึ่งสารจิงเป็นสารในการหล่อเลี้ยงชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นสารจิงแห่งการกำเนิดและสืบพันธ์ ได้รับจากพ่อแม่ เป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เก็บกักไว้ที่ไต สารจิงอีกชนิดหนึ่งคือสารจิงแห่งอวัยวะภายใน เกิดจากการดูดซึมสารอาหารของม้ามและกระเพาะอาหาร และกระจายหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในทั่วร่างกาย เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ

เป็นอย่างไรเมื่อไตพร่อง มักจะแสดงการเปลี่ยนแปลงต่างๆหลายอย่างต่อสุขภาพร่างกาย คือ

1.ไตหยางไม่พอหรือ ไตหยางพร่อง

  • ไตหยางพร่อง ไตไม่สามารถควบคุมน้ำได้ดี ทำให้มีน้ำคั่งที่ผิวหนัง มักจะมีอาการบวม ปัสสาวะน้อย ฝ้าบนลิ้นขาว ชีพจรจม
  • ไตหยางพร่อง พลังไตไม่พอ ทำให้กำลังลดน้อยลง มักจะมีอาการปวดเอว กลัวหนาว ไม่มีแรง สมรรถภาพทางเพศลดลง ปัสสาวะใส่และมาก ชีพจรไม่มีแรง
  • ไตหยางพร่อง ไม่สามารถอุ่นน้ำหยางได้ ทำให้ม้ามไม่สามารถทำหน้าที่ลำเลียง จึงเกิดภาวะม้ามและไตหยางพร่องพร้อมกัน มักจะมีอาการอาหารไม่ย่อย ท้องร่วง รู้สึกเย็นบริเวณท้อง ปวดเมื่อยเอว แขนขาไม่มีแรง
  • พลังไตพร่อง ไม่สามารถรับพลังจากปอดได้ มักจะมีอาการหายใจขัด ถี่ หอบ หายใจได้น้อย เวลาเคลื่อนไหวอาการหอบจะรุนแรง ใจเต้นเร็ว หน้าบวม กลัวหนาว เหงื่ออกง่าย ชีพจรจม

2. ไตหยินไม่พอ

  • ไตหยินพร่อง ทำให้เกิดความร้อน มักจะมีอาการเวียนศีรษะ ตาลาย มีเสียงในหู ปวดเมื่อยเอว ไข้แกว่งหลังเที่ยง เหงื่อออกกลางคืน ร้อนอุ้งมืออุ้งเท้า ปาก-คอแห้ง ลิ้นแดงมีฝ้าน้อย ชีพจร เบา-เล็ก เร็ว
  • ไตหยินไม่พอ ไม่สามารถเลี้ยงตับ ทำให้ตับหยินพร่อง เกิดอาการตับหยางมากเกิน
  • ไตหยินไม่พอ ทำให้ไฟหัวใจมากเกิน มักจะมีอาการหงุดหงิด นอนไม่หลับ หลงลืม อ่อนเพลีย เฉื่อย เหนื่อย ปวดเมื่อยเอว ลิ้นแดง ชีพจรเบา-เล็ก เร็ว
รีวิวจากผู้ใช้จริง